งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ธัญญา ยมมา และ พักตร์จิรา วงศ์ทอง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89374 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
แนวโน้ม 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้ามะพร้าวแห้งเพิ่มขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบมะพร้าวที่ผลิตในประเทศมีแนวโน้มลดลง ผู้ผลิตจึงต้องนำเข้าเนื้อมะพร้าวแช่แข็งจากต่างประเทศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการผลิตน้ำกะทิคืนรูปจากองค์ประกอบที่มีอยู่ ได้แก่ น้ำ น้ำมันมะพร้าว โปรตีน และน้ำตาล โดยศึกษาผลของโปรตีน 2 ชนิดคือโปรตีนนมและโปรตีนถั่วเหลือง รูปแบบการแปรรูป 3 ระดับ คือLow Temperature Long Time (LTLT, 63๐C นาน 30นาที) High Temperature Shot Time (HTST, 72๐C นาน 15 วินาที)และ Sterilize 121 ๐C นาน 15 นาที และอิมัลซิไฟเออร์คือ PolyoxyethyleneSorbitanMonostearate(Tween 60) จากนั้นทำการวิเคราะห์ด้านกายภาพ ได้แก่ การวัดค่าสี L*a*b* ค่าความหนืดและการแยกชั้นครีม พบว่า ตัวอย่างที่มีการเติมโปรตีนนมมีค่าสี L* และ b*มากกว่าตัวอย่างควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) แต่ค่าสี b*น้อยกว่าตัวอย่างที่เติมโปรตีนถั่วเหลืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ตัวอย่างที่เติมโปรตีนนมและโปรตีนถั่วเหลืองมีค่าความหนืดน้อยกว่าตัวอย่างควบคุม คือ 89.29 89.71 และ 136.24 cPตามลำดับ ตัวอย่างที่เติมโปรตีนถั่วเหลืองเกิดการแยกชั้นครีมช้ากว่าโปรตีนนม การให้ความร้อนอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าสี L* ลดลง และค่า b*เพิ่มขึ้นในทุกๆตัวอย่าง เนื่องจากในกะทิคืนรูปมีส่วนผสมของน้ำตาลเมื่อได้รับความร้อนจึงเกิดปฏิกิริยาเมลลาร์ดและโปรตีนถั่วเหลืองมีสีครีม อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่าความหนืด และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของตัวอย่างที่เติมโปรตีนนมกับโปรตีนถั่วเหลืองมีผลทำให้เกิดการแยกชั้นครีมเร็ว การเติมอิมัลซิไฟเออร์Tween 60 เป็นอิมัลซิไฟเออร์ที่มีค่า HLB =14.9 เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ พบว่าตัวอย่างที่เติม Tween 60 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าสี L* แต่ค่าสี b* เพิ่มขึ้นเมื่อให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 121 ๐C นาน 15 นาที ตัวอย่างที่เติม Tween 60 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่าความหนืด ส่วนตัวอย่างที่เติม Tween 60 เกิดการแยกชั้นครีมช้ากว่าตัวอย่างที่ไม่เติม Tween 60
ผู้วิจัย แพรวฤดี สีงาม และ พิไล ประสิทธิ์ศาล | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 91585 ครั้ง ดาวน์โหลด 178 ครั้ง
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาชนิดของตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสีจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว โดยใช้ตัวทำละลายในการสกัด 3ชนิด คืออะซิโตน ปิโตรเลียมอีเธอร์และคลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) จากนั้นนำมาวัดปริมาณสารสกัดที่ได้ และวิเคราะห์ปริมาณของเบต้าแคโรทีนที่เหลืออยู่หลังการสกัดโดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงได้มากที่สุดของเบต้าแคโรทีน ด้วยวิธีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ พบว่าปริมาณสารสกัดหยาบที่สกัดด้วยอะซิโตนปิโตรเลียมอีเธอร์ และคลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) มีค่าเท่ากับ 269346 และ 265 มิลลิกรัม ต่อ กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ และปริมาณของเบต้าแคโรทีน มีค่าเท่ากับ 539.12 428.29 และ 614.44 ppm ตามลำดับ ซี่งคุณสมบัติของตัวทำละลาย ในแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการสกัดที่แตกต่างกัน แต่คลอโรฟอร์ม:เมทานอล(2:1) ได้ปริมาณเบต้าแคโรทีนมากกว่า อะซิโตน และปิโตรเลียมอีเทอร์12.26% และ30.3% ตามลำดับ ดังนั้น จากการทดลองพบว่าการสกัดหาปริมาณเบต้าแคโรทีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว เพื่อให้ได้ปริมาณเบต้าแคโรทีนมากที่สุด คือใช้คลอโรฟอร์ม:เมทานอล(2:1)เป็นตัวทำละลายในการสกัด
ผู้วิจัย รัชนีกรณ์ ไชยดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89293 ครั้ง ดาวน์โหลด 70 ครั้ง
การใช้ส่วนต่างๆของต้นข้าวทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางฟ้า
ภูฐาน
Using Different Parts of Rice Plants to Substitute Sawdust for
Growing Phoenix Oyster Mushroom(Pleurotussajor-caju)
โดย นางสาวรัชนีกรณ์ ไชยดี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
จากการทดลองใช้ส่วนต่างๆของต้นข้าวทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางฟ้าภูฐาน โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซํ้า ๆ ละ 10 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (นํ้าหนักแห้ง) พบว่าระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุดคือในแกลบดิบ 100%รองลงมาคือ ฟางข้าวความยาว 20 cm 100%, เมล็ดข้าวลีบ 100%,ขี้เลื่อย 100% และ ตอซัง 100% โดยมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดคือ 27, 24, 24, 22 และ 20 วัน ตามลำดับ จำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุดคือใน ขี้เลื่อย 100% รองลงมาคือ ตอซัง 100%, ฟางข้าวความยาว 20cm 100%, เมล็ดข้าวลีบ 100% และ แกลบดิบ 100% โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่ 2.17, 1.26, 1.25, 1.14 และ 0.32 ดอก/ถุง ตามลำดับ ผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดนางฟ้าสูงที่สุดในขี้เลื่อย 100% รองลงมาคือ ตอซัง100%, ฟางข้าวความยาว 20 cm 100%, เมล็ดข้าวลีบ 100% และ แกลบดิบ 100% โดยมีผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 26.12, 14.28, 12.94, 11.90 และ 4.28 กรัม/ถุง ตามลำดับ
ผู้วิจัย ธราวุฒ สุวอ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88434 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2: กรณีศึกษา อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer on Growth and Yield of Sesame (cv.Ubonratchathani 2): A Case Study of Chanuman District, Amnat Charoen Province
โดย นายธราวุฒ สุวอ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรบ้านหินสิ่ว ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ 5 กลุ่มทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง 4) ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1000 กก./ไร่ 5) ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากให้ความสูงเฉลี่ยของต้นงาขาว น้ำหนักผลผลิตรวมทั้งหมด น้ำหนักแห้งของเมล็ด และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวมากที่สุด คือ 175.2 เซนติเมตร 4,608 กก./ไร่ 362 กก./ไร่ และ.0.079 รองลงมาคือการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ให้ความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักแห้งผลผลิตรวมปานกลาง แต่ให้น้ำหนักแห้งเมล็ดเฉลี่ย และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวสูงที่สุด แต่การใส่ปุ๋ยทุกรูปแบบ ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของงาขาวมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยและมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01)
คำสำคัญ งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก (มูลวัว)